Support
Selected for you by Hylife
0885053093
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

โรคอัลไซเมอร์

nongtar_p.m@hotmail.com | 16-08-2555 | เปิดดู 2779 | ความคิดเห็น 0

 

10 อาการนำโรคอัลไซเมอร์

สมา คมโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้กล่าวถึง 10 อาการเตือนภัยที่เราควรระมัดระวัง เมื่อเห็นว่าผู้สูงอายุมีอาการเหล่านี้บ่อยๆ และมีผลต่อการดำเนินชีวิต ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ควรรีบพามาปรึกษาแพทย์

1. อาการหลงลืม (memory loss)
ต้องบอก ว่า อาการหลงลืมของอัลไซเมอร์นั้น ระยะแรกจะหลงลืมในสิ่งที่ผ่านมาไม่นาน หรือพึ่งเกิดขึ้น (เรียกว่า recent memory) เช่น วางของไว้ที่ไหน เมื่อวานเย็นไปกินข้าวกับใครที่ไหน อาทิตย์ก่อนใครมาเยี่ยม เดือนก่อนไปเที่ยวต่างจังหวัดที่ไหน ส่วนความจำเกี่ยวกับเรื่องเก่า ๆ นั้นมักจะหลงลืมก็ต่อเมื่ออาการเป็นสมองเสื่อมขั้นรุนแรง (severe dementia) แล้วเท่านั้น
ผู้ป่วยสมองเสื่อมจำนวนมากมักจะการถามอะไรซ้ำ ๆ เช่นถามว่า พรุ่งนี้จะไปไหนกัน ..... เว้นไปห้านาที ก็ถามใหม่ว่าพรุ่งนี้จะไปไหนกัน .... บางคนถามคำถามเดิมเป็นสิบ ๆ ครั้ง เพราะ จำไม่ได้ว่าถามไปแล้ว ....

2. ทำกิจวัตรประจำวันที่เคยทำมาไม่ได้ (Difficulty performing familiar tasks)
โดย จะเริ่มจากการทำกิจวัตรที่เคยทำที่ซับซ้อนไม่ได้ (เรียก instrumental activities of daily living)ผู้ป่วยอัลไซเมอร์คนหนึ่ง เป็นอาจารย์สอนใมหาวิทยาลัย ซึ่งสอนวิชาเคมี โดนสอนวิชานี้มานานหลายปีแล้ว เป็นประจำ แต่บัจจุบันมีปัญหาสอนไม่ได้ ... เวลาที่ขึ้นไปพูดหน้าห้อง นึกไม่ออก พูดได้แค่ตามที่เขียนใน power point นอกนั้นไม่สามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ ทั้ง ๆ ที่สอนเหมือนเดิมมาหลายปีแล้ว เมื่อนักศึกษาถามก็ตอบไม่ถูกแม่บ้านที่ทำอาหารมาตลอดและทำได้อร่อย ....ลูก ๆ เริ่มสังเกตุว่ารสชาติอาหารเปลี่ยนไป ไม่อร่อยเหมือนเคย ... บางครั้งปรุอาหารผิด เช่นใส่ใบโหระพา แทนใบกระเพราในผัดกระเพราและเมื่อาการเริ่มเป็นมาก จะทำกิจวัตรประจำวันง่าย ๆ ไม่ได้ (basic activities of daily living)กิจวัตรประจำวันง่าย ๆ นี่เช่น การทำอาหาร การกินข้าว อาบน้ำ แปรงฟัน การแต่งตัว ก็จะทำเองไม่ได้
 

3. มีปัญหาในการใช้พูดหรือใช้ภาษา (Problems with language )
ใน เรื่องของการใช้ภาษานั้น แน่นอนทุกคนอาจจะเคยพูดผิดบ้าง เรียกชื่อเพื่อนผิดบ้าง หรือนึกคำที่ไม่ค่อยได้ใช้ไม่ออกบางครั้ง แต่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีปัญหาลืมแม้กระทั่งคำง่าย ๆ ที่ใช้บ่อย ๆ นึกคำที่จะใช้ไม่ออก บางครั้งใช้คำผิด (เช่นเรียกหมูแทนไก่ พูดถึงเก้าอี้แต่เรียกเป็นโต๊ะ) หรือมีปัญหาในการพูดหรือเขียน จนทำให้ฟังหรืออ่านไม่ค่อยเข้าใจ
นึกคำไม่ออก ..... ที่พบบ่อย ๆ คือผู้ที่เป็นอัลไซเมอร์มักจะใช้คำว่า “ไอ้นั่น” “ไอ้นี่” “อันนั้น” “ที่นั้น” บ่อย ๆ .....(เหตุการณ์เกิดในครัวขณะแม่กับลูกสาวทำอาหารเย็นด้วยกัน)
แม่ ลูกช่วยหยิบ “ไอ้นั้น” ให้หน่อยสิ
ลูกสาว “ไอ้นั้น” นี่อะไรล่ะแม่
แม่ ไอ้นั่นไง 
ลูกสาว ก็อะไรล่ะแม่ ....(ทำหน้างง ว่าจะให้หยิบอะไรกันแน่)
แม่ ก็ไอ้นั่น .... (ชี้นิ้ว) ก็ที่แบน ๆ เอาไว้ผัดผักไง
ลูกสาว อ๋อ ตะหลิวน่ะเหรอ .....
แม่ ลูก ๆ ใส่ผัก”อันนั้น”ในแกงจืดหน่อย
ลูกสาว ผักอะไรล่ะแม่ ?????
นี่ เป็นตัวอย่างของการมีปัญหาในการใช้ภาษา เพราะผู้ป่วยนึกศัพท์ไม่ออก ใช้ไม่ถูก .... ทั้ง ๆ ที่ “ตะหลิว” เองก็เป็นสิ่งที่ใช้บ่อย ๆ ก็เรียกไม่ถูก ต้องใช้บรรยายคำใกล้เคียงแทน
อะไรที่อาจพบได้ในคนปกติ คือการนึกคำศัพท์ไม่ออกแบบนาน ๆ ที หรือศัพท์ที่ใช้ไม่บ่อยแล้วนึกไม่ออก ก็พบได้
 

4. ไม่รู้วัน เวลาและสถานที่ (disorientation to time and place)
ผู้ ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์อาจมีปัญหา ไม่รู้วัน เวลาและสถานที่ได้แน่นอนว่าบางครั้งคนทั่ว ๆ ไปอาจจะจำไม่ได้บ้างว่าวันนี้วันที่เท่าไหร่ (เช่นวันที่ 20) แต่มักไม่เป็นบ่อย ๆ แต่หากจำไม่ได้ว่าอยู่บ่อย ๆ ว่าตอนนี้กี่โมงแล้ว ....วันนี้วันอะไร (วันเสาร์ อาทิตย์ จันทร์) หรือเดือนอะไร นี่เป็นสัญญาณเตือนว่าไม่น่าจะใช่เรื่องปกติ ยิ่งหากจำถนนหนทางที่คุ้นเคย เช่นแถว ๆ บ้านไม่ได้ หรือหลงทางในบริเวณที่ไปเป็นประจำ ยิ่งเป็นสิ่งที่ชัดเจนว่าไม่น่าจะธรรมดาปัญหาการไม่รู้สถานที่นี่มักทำให้ เกิดปัญหาสำคัญที่เจอบ่อย ๆ ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ นั่นคือการหลงทาง ... หลายคนออกจากบ้านแล้วหายไป เพราะกลับไม่ถูกหรือจำไม่ได้ 
 

5. การตัดสินใจแย่ลง (poor or decreased judgment )
ผู้ ป่วยอัลไซเมอร์มักประสบกับปัญหาการตัดสินใจที่แย่ลงและช้าลง ... เช่น เมื่อเกิดไฟดับ ผู้ป่วยอาจตกใจและลนลานไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไง (ปกติก็คือ อาจหาเทียนไข หรือไฟฉายมาใช้ ) หรือเมื่อท่อน้ำในบ้านแตก ก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไง (ทั่วไปคืออาจไปปิดวาร์วน้ำ โทรหาช่าง หรือโทรถามคนอื่น) บางคนแคไปรษณีย์มาส่งพัศดุ ให้คนในบ้าน ก็งง ไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรแล้ว เมื่อได้รับบิลค่าโทรศัพท์หรือค่าไฟแล้วไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไงกับบิลต่อไป ผู้ป่วยอัลไซเมอร์บางคนมีการตัดสินใจเลือกเสื้อผ้าแปลก ๆ ไม่เหมาะสมได้เช่น อาจใส่เสื้อผ้าหนาวในกรุงเทพหน้าร้อน หรือใส่สีไม่เข้ากันเลย (เช่นเสื้อเชิ๊ตสีแดง กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน) บางคนตัดสินใจในเรื่องการเงินแย่ลง เอาเงินไปแจกคนอื่น หรือลงทุนอย่างไม่เหมาะสมจนเป็นปัญหาตามมาได้ .....
 

6. ความคิดและเหตุผลแย่ลง (problems with abstract thinking)
ความ บกพร่องของความคิดอาจจะเห็นตั้งแต่ ผู้ป่วยดูคิดอะไรช้าลงมาก ถามอะไรก็อาจตอบช้ากว่าเมื่อก่อนเยอะ บางคนเริ่มคิดเลขไม่ได้ ไปซื้อของคำนวญราคาไม่ถูก คิดทอนเงินไม่ได้ หลาย ๆ คน เวลาที่อธิบายอะไรให้ผู้ป่วยฟัง ก็ยากที่จะเข้าใจ ไม่สามารถวางแผนการได้
 


7. วางของผิดที่ (misdisplacing)

นอก จากวางของแล้วจำไม่ได้ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์อาจจะวางของในที่แปลก ๆ ที่ไม่ควรจะวาง เช่น เก็บโทรศัพท์ไว้ในตู้เย็น มาหม้อหุงข้าวมาเก็บไว้ในห้องนอน เป็นต้น
 

8. อารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ( Mood and behavioral change )
อารมณ์ (emotion and affect) พบว่าผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จำนวนหนึ่งนั้น มีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย คือ มีอารมณ์เศร้า เบื่อ ไม่อยากทำอะไรที่เคยชอบทำ ร้องไห้บ่อย ๆ รู้สึกว่าตัวเองไม่ดี หรือพูดถึงว่าไม่อยากอยู่แล้ว อยากฆ่าตัวตาย ..... ดังนั้นหากพบอาการซึมเศร้าในผู้ที่มีอายุมาก ๆ อาจจะต้องระวังเรื่องของโรคอัลไซเมอร์ด้วย อีกอารมณ์หนึ่งที่พบได้บ่อยคือ การมีอารมณ์หงุดหงิดโมโหได้ง่าย จากเดิมที่ไม่เป็น เอาแต่ใจ บางครั้งเวลาถูกขัดใจอาจมีตะโกนเสียงดัง ขว้างปาข้าวของ มีอารมณ์ขึ้นลงรุนแรงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป (behavioral change) ผู้ป่วยบางคนอาจมีพฤติกรรมที่แปลก ๆ ผิดปกติไป ที่พบได้บ่อยเช่น บางคนเดินกลับไปกลับมาในบ้านซ้ำ ๆ โดยไร้จุดหมาย ผู้ป่วยคนหนึ่งค้นตู้เสื้อผ้าในบ้านออกมาจนหมดกระจุยกระจายเต็มบ้าน แล้วจัดเก็บเข้าไปใหม่ จากนั้นไม่นานก็ลื้อออกมาใหม่ ผู้ป่วยคนหนึ่งหยิบปากกาขึ้นมาส่องดูแล้วก็วาง แล้วสักพักก็ส่องดูใหม่วันละหลายสิบรอบ บางคนมีนิสัยเก็บสะสมของต่าง ๆ และขยะ ผู้ป่วยบางคนเก็บขยะจากที่ต่าง ๆ มาสะสมในบ้านหนักหลายกิโล

9. บุคลิกภาพเปลี่ยนไป ( Personality Change )
ผู้ ป่วยอัลไซเมอร์ส่วนหนึ่งจะมีอาการนำมาด้วยมีบุคลิกภาพเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น จากเดิมเป็นคนง่าย ๆ ไม่ค่อยพูดบ่นมาก ก็กลายเป็นคนที่พูดมาก บ่นจู้จี้จุกจิกไป บางคนที่เดิมเป็นคนร่าเริงสนุกสนานชอบงานสังคม ก็กลายเป็นคนเงียบ ๆ ไม่พูด ไม่ออกจากบ้าน ดังนั้นหากพบว่าคนรู้จักของเรามีนิสัย บุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมตอนอายุมาก ๆ อาจต้องนึกถึงว่านี่เป็นอาการนำของโรคสมองเสื่อม 
 

10. ขาดการคิดริเริ่มและความสนใจสิ่งแวดล้อม (loss of initiative)
ผู้ ป่วยอัลไซเมอร์จำนวนมากกว่าครึ่ง จะมีอาการขาดความคิดสร้างสรรค์ และไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว (อันนี้ต้องเปรียบเทียบจากนิสัยเดิมด้วย) เช่น ผู้ป่วยจะไม่คิดริเริ่มที่จะทำอะไร ไม่เป็นฝ่ายเริ่มคุยกับคนอื่นก่อน ถ้าคนอื่นไม่มาคุยด้วยก็จะไม่พูดอะไร มีส่วนร่วมในงานสังคมน้อยลง ไม่ค่อยสนใจสิ่งที่เคยสนใจทำมาก่อน ผู้ป่วยหลายคนวัน ๆ นั่งเฉย ๆ ไม่ทำอะไรได้ทั้งวันสิ่งที่พบได้ในคนปกติ การที่บางครั้ง บางวันอาจเบื่อไม่อยากทำอะไร แต่ไม่ควรเป็นต่อเนื่องกันหลาย ๆ วัน

อย่าปล่อยให้สายเกินแก้น่ะค่ะ สุขภาพเราสำคัญที่สุดค่ะ ให้Herbal wave เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะช่วยคุนน่ะค่ะ

 

ความคิดเห็น

วันที่: Tue Mar 19 16:43:52 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0